เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โธตกะ1 เราไม่สามารถปลดเปลื้องใคร ๆ
ที่มีความสงสัยในโลกได้
แต่เธอเมื่อรู้แจ้งธรรมอันประเสริฐ
ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการฉะนี้2
(สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้3
สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์
นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด
โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็เป็นแต่ผู้
บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ ผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น จึงจะพึง
หลุดพ้นได้"4 สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อย่างนี้บ้าง รวม
ความว่า สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย
คำว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน อธิบายว่า อนาคต
ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีต ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน อีกนัยหนึ่ง อนาคตใกล้
อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี
ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน

เชิงอรรถ :
1 โธตกะ เป็นชื่อของมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี (ขุ.จู. 30/33/98)
2 ขุ.สุ. 25/1071/538, ขุ.จู. 30/33/98, อภิ.ก. 37/325/168
3 ขุ.ธ. 25/165/46, ขุ.จู. 30/33/99
4 ม.อุ. 14/77/57-58, ขุ.จู. 30/33/99

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :41 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อนอย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน
เราได้มีรูปอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีเวทนาอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีสัญญาอย่างนี้มาแล้ว ...
ได้มีสังขารอย่างนี้มาแล้ว บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า
ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีวิญญาณอย่างนี้มาแล้ว บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่ง
หวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีต
อันยาวนาน เราได้มีตาอย่างนี้ ได้เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วย
ฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึง
ชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน อย่างนี้บ้าง ... ได้มีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียง
อย่างนี้ ... ได้มีจมูกอย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... ได้มีลิ้นอย่างนี้ ได้รู้รสอย่างนี้ ... ได้มี
กายอย่างนี้ รู้สึกผัสสะอย่างนี้ ... มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า
ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยว
เนื่องด้วยฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น
บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจ ด้วยการหัวเราะ พูดจา
เล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน
เป็นอย่างนี้บ้าง
บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลังอย่างไร
คือ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาว
นาน เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขาร
อย่างนี้ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาวนาน
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง
เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :42 }