เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
กลับรูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว
เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด
จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว
กับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก
อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส
เรียกว่า อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่า
อุปธิวิเวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :409 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
คำว่า สันติ อธิบายว่า ทั้งสันติ และสันติบท มีความหมายอย่างเดียวกัน
สันติบทนั้นนั่นเองคือ อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัด
ทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็น
สนิท นี้เป็นบทสงบ เป็นบทประณีต
อีกนัยหนึ่ง โดยความหมายต่างกัน ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ
ถูกต้องความสงบ ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ธรรมเหล่านี้
ตรัสเรียกว่า สันติบท(ทางสงบ) ตาณบท(ทางปกป้อง) เลณบท(ทางหลีกเร้น)
สรณบท(ทางเป็นที่พึ่ง) อภยบท(ทางไม่มีภัย) อัจจุตบท(ทางที่ไม่จุติ) อมตบท(ทาง
อมตธรรม) นิพพานบท(ทางนิพพาน)
คำว่า ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา สีลขันธ์ใหญ่
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา สมาธิขันธ์ใหญ่... ปัญญา-
ขันธ์ใหญ่... วิมุตติขันธ์ใหญ่... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความ
มืดใหญ่ เครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่ เครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ เครื่อง
ปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ เครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่ เครื่องเข้าไปสงบอภิสังขาร
ใหญ่ เครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ เครื่องวางภาระใหญ่ เครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ เครื่อง
ดับความเดือดร้อนใหญ่ เครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่ เครื่องยกธงคือธรรมใหญ่
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :410 }