เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา1 4
อรูปสมาบัติ2 4 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์3 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ4 9 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
1 อัปปมัญญา 4 คือธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐและปฏิบัติต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบไม่มีขอบเขต
ได้แก่ (1) เมตตา (2) กรุณา (3) มุทิตา (4) อุเบกขา (ที.ปา. 11/308/200)
2 อรูปสมาบัติ 4 ดูเชิงอรรถข้อ 6/26
3 วิโมกข์ 8 ได้แก่ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่
ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญ
กสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม) เป็นต้น (ที.ปา. 11/339/231)
4 อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 คือธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4
และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 (ที.ปา. 11/343/234-235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :403 }