เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร
คือ การละมโนทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต 3 อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต-
ปริญญา(การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว1
มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม 3 ประการเหล่านี้ มี 6 จำพวก คือ

1. อาคารมุนี 2. อนาคารมุนี
3. เสขมุนี 4. อเสขมุนี
5. ปัจเจกมุนี 6. มุนิมุนี

อาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้
ชื่อว่าอาคารมุนี
อนาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้
ชื่อว่าอนาคารมุนี

เชิงอรรถ :
1 ขุ.อิติ. 25/67/282, ขุ.จู. 30/21/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :400 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
พระเสขะ 7 จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่ามุนิมุนี
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่ง ๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว
เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่า เป็นมุนีแท้
ผู้ที่รู้โลกทั้ง 2 ก็เรียกว่า เป็นมุนี1(เช่นกัน)
ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง
เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี2
คำว่า พ้นขาดแล้ว อธิบายว่า จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากราคะ...
จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากโทสะ... จากโมหะ... จากอกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท รวมความว่า มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
คำว่า ความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ
ปรารถนา ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือ (1) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อ
ว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ3

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ธ. 25/268-269/63
2 ขุ.สุ. 25/533/438
3 เทียบกับความในข้อ 12/58-59, ขุ.จู. 30/21/78

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :401 }