เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อบายโลก ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก ... ธาตุโลก ... อายตนโลก คือ
เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ อธิบายว่า มุนีย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ 2 อย่าง
คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
มุนีย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำวจีทุจริต...
เราทำมโนทุจริต... เราทำปาณาติบาต... เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" มุนีชื่อว่า
ย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้ง 6 ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ
ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4
ไม่เจริญอิทธิบาท 4 ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ไม่เจริญพละ 5 ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละทุกขสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ" มุนีชื่อว่าย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
มุนีไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งกรรมที่
ติเตียนตน จึงชื่อว่าติเตียนตนเองไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า ติเตียนตน
เองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :396 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[149] (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า)
มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา
คำว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า
เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า
เสนามาร ราคะ... โทสะ... โมหะ... โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา...
มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ... มทะ...
ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง... ความ
เร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่า
เสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ 2 ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ 3 ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ 4 ของท่าน
ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ 5 ของท่าน
ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ 6 ของท่าน
วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ 7 ของท่าน
มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ 8 ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิด ๆ
เราเรียกว่าเสนากองที่ 9 ของท่าน
การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ 10 ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :397 }