เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อบายโลก ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก ... ธาตุโลก ... อายตนโลก คือ
เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ อธิบายว่า มุนีย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ 2 อย่าง
คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
มุนีย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำวจีทุจริต...
เราทำมโนทุจริต... เราทำปาณาติบาต... เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" มุนีชื่อว่า
ย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้ง 6 ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ
ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4
ไม่เจริญอิทธิบาท 4 ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ไม่เจริญพละ 5 ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละทุกขสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ" มุนีชื่อว่าย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
มุนีไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งกรรมที่
ติเตียนตน จึงชื่อว่าติเตียนตนเองไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า ติเตียนตน
เองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :396 }