เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่
ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป
ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
คำว่า ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า "โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
คำว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า
ทิฏฐิ 62 มุนีนั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นพ้นขาดแล้ว คือ ไม่เกี่ยวข้องกับทิฏฐิ
ทั้งหลาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
รวมความว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี 2 อย่าง
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก อธิบายว่า
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด 2 อย่าง คือ (1) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีนั้นละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติด จึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด ใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :395 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อบายโลก ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก ... ธาตุโลก ... อายตนโลก คือ
เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ อธิบายว่า มุนีย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ 2 อย่าง
คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
มุนีย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำวจีทุจริต...
เราทำมโนทุจริต... เราทำปาณาติบาต... เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" มุนีชื่อว่า
ย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง มุนีย่อมติเตียนตนว่า "เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้ง 6 ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ
ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4
ไม่เจริญอิทธิบาท 4 ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ไม่เจริญพละ 5 ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละทุกขสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ" มุนีชื่อว่าย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
มุนีไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งกรรมที่
ติเตียนตน จึงชื่อว่าติเตียนตนเองไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า ติเตียนตน
เองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :396 }