เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีผู้เป็นพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น
[148] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า อาสวะเก่า กิเลสเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ
ปรารภสังขารที่เป็นอดีต มุนีละ คือ สละ สลัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสเหล่านั้นแล้ว รวมความว่า ละอาสวะเก่า
คำว่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่
เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า อาสวะใหม่ มุนีไม่ก่อความพอใจ ไม่ก่อความรัก ไม่ก่อ
ความกำหนัด เพราะปรารภสังขารที่เป็นปัจจุบัน คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้
บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
คำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ในคำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
โทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :394 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่
ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป
ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
คำว่า ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า "โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
คำว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า
ทิฏฐิ 62 มุนีนั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นพ้นขาดแล้ว คือ ไม่เกี่ยวข้องกับทิฏฐิ
ทั้งหลาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
รวมความว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี 2 อย่าง
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก อธิบายว่า
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด 2 อย่าง คือ (1) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีนั้นละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติด จึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด ใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :395 }