เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ได้แก่ เมื่อคนทั้งหลาย ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีนั้น
ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไป
ตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ
ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
อุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่
ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย
รวมความว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้วก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ
วางเฉย อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะ
สงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ... ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ
สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ
คำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ อธิบายว่า เมื่อคนทั้งหลาย ไม่สงบ คือ ไม่
เข้าไปสงบ ไม่สงบเย็น ไม่ดับ ไม่ระงับ รวมความว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น
เป็นผู้สงบ
คำว่า มุนีนั้น... วางเฉย อธิบายว่า มุนีผู้เป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา
มีองค์1 6 เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงทางหู... เป็นผู้อบรมแล้ว เป็นผู้สงบ รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น รวมความว่า
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ... วางเฉย

เชิงอรรถ :
1 อุเบกขามีองค์ 6 คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ในพระธรรมวินัยนี้
(1) เห็นรูปทางตาแล้ว (2) ฟังเสียงทางหูแล้ว (3) ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว (4) ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว
(5) ถูกต้องสัมผัสทางกายแล้ว (6) รับรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มี
สติสัมปชัญญะอยู่
อุเบกขาองค์มี 10 คือ
(1) ฉฬงฺคุเปกฺขา อุเบกขาประกอบด้วยองค์ 6 (2) พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร (3)
โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ (4) วิริยุเปกฺขา อุเบกขาคือวิริยะ (5) สงฺขารุเปกฺขา อุเบกขา
ในสังขาร (6) เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา (7) วิปสฺสนูเปกฺขา อุเบกขาในวิปัสสนา
(8) ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
(9) ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน (10) ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก (วิสุทฺธิ. 1/84-89/
173-179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :393 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีผู้เป็นพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น
[148] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า อาสวะเก่า กิเลสเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ
ปรารภสังขารที่เป็นอดีต มุนีละ คือ สละ สลัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสเหล่านั้นแล้ว รวมความว่า ละอาสวะเก่า
คำว่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่
เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า อาสวะใหม่ มุนีไม่ก่อความพอใจ ไม่ก่อความรัก ไม่ก่อ
ความกำหนัด เพราะปรารภสังขารที่เป็นปัจจุบัน คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้
บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
คำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ในคำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
โทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :394 }