เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ
โทษ หรือการสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็น
นามรูป
คำว่า ครั้นเห็นแล้ว ในคำว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูป
เหล่านั้นเท่านั้น อธิบายว่า ครั้นเห็นแล้วด้วยปรจิตตญาณบ้าง เห็นแล้วด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เห็นแล้วด้วยมังสจักขุบ้าง เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง
ครั้นเห็นเพียงนามรูปนั่นเองแล้ว ก็รู้จักโดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นตัวตน มิได้รู้จักความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรือการสลัดออกแห่ง
ธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้น
เท่านั้น
คำว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ได้แก่ เห็นนามรูปมาก
บ้างน้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตนโดยแท้
รวมความว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าว
ความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ
ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดใน
สัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์
ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่กล่าว ไม่พูด
ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะการเห็นนามรูป ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :387 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[145] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว
อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น
นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น
คำว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำ
ได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ" มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า "โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
คำว่า ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่น เป็นคนที่พึงแนะนำได้ยาก ทำให้เข้าใจได้ยาก ทำให้เพ่งพินิจได้ยาก
ทำให้พิจารณาได้ยาก ทำให้เลื่อมใสได้ยาก รวมความว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย
คำว่า เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้เชิดชู คือ เที่ยว
ยกย่องทิฏฐิที่กำหนดแล้ว กำหนดไว้แล้ว คือ ปรุงแต่งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว มีทิฏฐิ
เป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นยอดธง มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ถูกทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า
เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว
คำว่า อาศัยศาสดาใด ในคำว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม
ในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด รวมความว่า
อาศัยศาสดาใด
คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน
ความพอใจของตน ลัทธิของตน
คำว่า ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม คือ
กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่า
มีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ตามลัทธิ
ของตน รวมความว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :388 }