เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ
หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ คือ สมณพราหมณ์บางพวก
เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
สมณพราหมณ์บางพวก เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า "โลกไม่เที่ยง... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ" รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ
คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบายว่า ได้เห็นแล้ว
ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วย
มังสจักขุบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้
เห็นแล้ว
คำว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์นั้นทำอะไรได้เพราะการเห็นนั้น คือ ไม่มีการกำหนดรู้ทุกข์
ไม่มีการละสมุทัย ไม่มีการเจริญมรรค ไม่มีการทำให้แจ้งผล ไม่มีการละราคะได้
โดยตัดขาด ไม่มีการละโทสะได้โดยตัดขาด ไม่มีการละโมหะได้โดยตัดขาด ไม่มีการ
ละกิเลสทั้งหลายได้โดยตัดขาด ไม่มีการตัดขาดสังสารวัฏเลย รวมความว่า ถ้า
สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์
นั้นเล่า
คำว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าว
ความหมดจดด้วยการเห็นอื่น อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้นก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่ง
ความผ่องแผ้ว ทางแห่งความผ่องใส ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :385 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
นอกจากสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมด
จด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นทางแห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่สะอาด ทางแห่งความไม่
บริสุทธิ์ ทางแห่งความไม่ผ่องแผ้ว ทางแห่งความไม่ผ่องใสของเดียรถีย์เหล่านั้นย่อม
กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจด
ด้วยการเห็นอื่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด
เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง
ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย (ทางแห่งความหมดจด)แล้ว
ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
[144] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น
คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป อธิบายว่า
นรชนเมื่อเห็นด้วยปรจิตตญาณบ้าง เมื่อเห็นด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เมื่อ
เห็นด้วยมังสจักขุบ้าง เมื่อเห็นด้วยทิพพจักขุบ้าง ก็เห็นนามรูปนั่นเอง โดยความเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :386 }