เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง อธิบายว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็
พึงมีอยู่แท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า การว่าร้ายทุกอย่าง
ก็พึงมีอยู่แท้จริง
คำว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น อธิบายว่า ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
รวมความว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง
เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
[142] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว
แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
คำว่า ไม่ ในคำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7 ประการ
ได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์1
คำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ อธิบายว่า ความเป็นผู้มี
ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :382 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
แนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น
ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็น คือ ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ
ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้
อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์"...
ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์
ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยว
เนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" รวมความว่า
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย
ก็ไม่มี ได้แก่ ทิฏฐิ 62
คำว่า ตกลงใจ ได้แก่ ตกลงใจ คือ วินิจฉัย ตัดสิน ชี้ขาด เทียบเคียง
พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
คำว่า ยึดมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ
ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า "สิ่งนี้ จริง
แท้จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต" ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่
ความตกลงใจแล้วยึดมั่น พราหมณ์นั้น ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความตกลง
ใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาท
ทั้งหลายได้แล้ว อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย คือ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นการ
ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท
เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย
การวิวาททั้งหลายได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :383 }