เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน
อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์
บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหา
ดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ได้แก่ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือ
มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ
มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว
คือ สุขเวทนา
ความพอใจในภพ 2 อย่าง คือ
1. สุขเวทนา 2. วัตถุที่น่าปรารถนา
ความพอใจในภพ 3 อย่าง คือ
1. ความเป็นหนุ่มสาว 2. ความไม่มีโรค
3. ชีวิต
ความพอใจในภพ 4 อย่าง คือ
1. ลาภ 2. ยศ
3. สรรเสริญ 4. สุข
ความพอใจในภพ 5 อย่าง คือ
1. รูปที่น่าพอใจ 2. เสียงที่น่าพอใจ
3. กลิ่นที่น่าพอใจ 4. รสที่น่าพอใจ
5. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :38 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ความพอใจในภพ 6 อย่าง คือ
1. ความสมบูรณ์แห่งตา 2. ความสมบูรณ์แห่งหู
3. ความสมบูรณ์แห่งจมูก 4. ความสมบูรณ์แห่งลิ้น
5. ความสมบูรณ์แห่งกาย 6. ความสมบูรณ์แห่งใจ
ผู้ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ ได้แก่ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน
พัวพันในสุขเวทนา ... ในวัตถุที่น่าปรารถนา ... ในความเป็นหนุ่มสาว ... ในความ
ไม่มีโรค ... ในชีวิต ... ในลาภ ... ในยศ ... ในสรรเสริญ ... ในสุข ... ในรูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ... ในความสมบูรณ์แห่งตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น
... กาย ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในความสมบูรณ์แห่งใจ
รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้น
ไม่ได้เลย อธิบายว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุด
พ้นได้ยาก หรือสัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ
พอใจในภพนั้น
ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก
เป็นอย่างไร
คือ สุขเวทนา อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัวได้ยาก
แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับ
ตัวหลีกได้ยาก วัตถุที่น่าปรารถนา ... ความเป็นหนุ่มสาว ... ความไม่มีโรค ... ชีวิต ...
ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... รูปที่น่าพอใจ ... เสียงที่น่าพอใจ ... กลิ่นที่น่าพอใจ
... รสที่น่าพอใจ ... โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... ความสมบูรณ์แห่งตา ... ความสมบูรณ์
แห่งหู ... ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... ความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... ความสมบูรณ์แห่งกาย
... ความสมบูรณ์แห่งใจ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัว
ได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้น
ได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์
หลุดพ้นได้ยากเป็นอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ
พอใจในภพนั้น เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :39 }