เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน
อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์
บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหา
ดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ได้แก่ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือ
มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ
มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว
คือ สุขเวทนา
ความพอใจในภพ 2 อย่าง คือ
1. สุขเวทนา 2. วัตถุที่น่าปรารถนา
ความพอใจในภพ 3 อย่าง คือ
1. ความเป็นหนุ่มสาว 2. ความไม่มีโรค
3. ชีวิต
ความพอใจในภพ 4 อย่าง คือ
1. ลาภ 2. ยศ
3. สรรเสริญ 4. สุข
ความพอใจในภพ 5 อย่าง คือ
1. รูปที่น่าพอใจ 2. เสียงที่น่าพอใจ
3. กลิ่นที่น่าพอใจ 4. รสที่น่าพอใจ
5. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :38 }