เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้
ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร
คำว่า ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า ผู้กำลังปรารถนา ได้แก่ ผู้กำลังปรารถนา คือ ผู้กำลังต้องการ ยินดี
มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ผู้กำลังปรารถนา
คำว่า ชอบใจ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความชอบใจ คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า
ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา
คำว่า ความกำหนด ในคำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่
กำหนดแล้ว ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือ (1) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว อธิบายว่า
ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมหวั่นไหวบ้าง
ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมหวั่นไหว คือ
สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่บ้าง รวมความว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะ
วัตถุที่กำหนดแล้ว
คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดใน
ธรรมวินัยนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ อธิบายว่า การไป การมา การไปและ
การมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ การถือกำเนิด ความเกิด ความดับ
ชาติ ชรา มรณะ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันตขีณาสพใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :376 }