เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คือ ปรารถนาอกุศลธรรม กามคุณ 5 และทิฏฐิ 62 ปรารถนาความหมดจด คือ
ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนา
อกุศลธรรม กามคุณ 5 ทิฏฐิ 62 และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณ-
ปุถุชน ปรารถนาความสะอาด คือ ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค พระเสขะ
ปรารถนาอรหัตตผล ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตตผล พระอรหันต์ไม่
ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนากามคุณ 5 ไม่ปรารถนาทิฏฐิ 62 ไม่ปรารถนา
กุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ1 ไม่ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนา
อรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระอรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนา ล่วงพ้นความ
เจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติ
จรณธรรมแล้ว... และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ
ความไม่หมดจด
คำว่า งดเว้นแล้ว ในคำว่า งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
อธิบายว่า งด งดเว้น คือ เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับ
ความหมดจดและความไม่หมดจด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า
งดเว้นแล้ว
คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า งดเว้นแล้ว เที่ยวไป

เชิงอรรถ :
1 ไตรธาตุ คือ (1) กามธาตุ(กามภพ) (2) รูปธาตุ(รูปภพ) (3) อรูปธาตุ(อรูปภพ)
1. ธาตุอย่างหยาบ ชื่อกามธาตุ 2. ธาตุอย่างกลาง ชื่อรูปธาตุ 3. ธาตุอย่างประณีต ชื่ออรูปธาตุ
กรรมอำนวยผลให้ในกามธาตุ กามภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น
ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบ ธาตุอย่างหยาบ(กามธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็น
เครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป
กรรมอำนวยผลให้ในรูปธาตุ รูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง
เหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลาง ธาตุอย่างกลาง(รูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็นเครื่อง
ปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป
กรรมอำนวยผลให้ในอรูปธาตุ อรูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น
ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีต ธาตุอย่างประณีต(อรูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชา
เป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป (องฺ.ติก.(แปล) 20/77/217)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :373 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ อธิบายว่า ทิฏฐิ 62 ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่มีอยู่
พระอรหันต์ไม่ยึด คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ รวมความว่า งดเว้นแล้ว
ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด
ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
[136] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น
เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้
เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า
ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่
คำว่า สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ ถือการเกลียดชังตบะเป็นสรณะ
อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อความเกลียดชังตบะ รวมความว่า
สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น
คำว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า
อาศัย เข้าไปอาศัย คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดเพราะรูป
ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือความ
หมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือ
อารมณ์ที่รับรู้
คำว่า เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า... จึงยังพร่ำพูดถึงความ
หมดจดอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสาร
ข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหน เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว ถือความหมดจดโดยการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :374 }