เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า หวั่นไหว ในคำว่า พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว อธิบายว่า หวั่น
หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่องศีล วัตร หรือ ศีลวัตรว่า เราผิด พลั้ง พลาด
คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว รวมความว่า หวั่นไหว
คำว่า พลาดกรรมแล้ว อธิบายว่า หวั่น หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่อง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขารว่า "เราผิด พลั้ง พลาด
คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว" รวมความว่า พลาดกรรม
แล้วก็หวั่นไหว
คำว่า พร่ำเพ้อ ในคำว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความ
หมดจด ได้แก่ เพ้อ พร่ำเพ้อ คือ เพ้อพกเรื่องศีล วัตร หรือศีลวัตร รวมความว่า
พร่ำเพ้อ
คำว่า และปรารถนาความหมดจด ได้แก่ ปรารถนา คือ ชอบใจ ใฝ่ฝัน
ความหมดจดเพราะศีล ความหมดจดเพราะวัตร หรือความหมดจดเพราะศีลวัตร
รวมความว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความหมดจด
คำว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก
ฉะนั้น อธิบายว่า บุรุษออกจากเรือน อยู่ร่วม คือ เป็นอยู่กับพวกเดินทาง
พลัดจากพวก คือ ติดตามพวกเดินทางไป หรือกลับมาสู่เรือนของตนเอง ฉันใด
เจ้าลัทธินั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่นศาสดานั้นหรือศาสดาอื่น
ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนนั้น หรือธรรมที่ศาสดากล่าวสอนอื่น หมู่คณะนั้นหรือหมู่
คณะอื่น ทิฏฐินั้นหรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้นหรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้นหรือมรรคอื่น
รวมความว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก
ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว
เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อ และปรารถนาความหมดจด
เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง
พลัดจากพวกฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :371 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[135] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด
ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
คำว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดเพราะศีลได้ทั้งหมด... ความหมดจดเพราะ
วัตรได้ทั้งหมด... ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความหมดจดเพราะศีลวัตรได้ทั้งหมด รวมความว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด

ว่าด้วยกรรมมีโทษและกรรมไม่มีโทษ
คำว่า ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ อธิบายว่า กรรมดำ1
มีวิบากดำ ตรัสเรียกว่า กรรมที่มีโทษ กรรมขาว2 มีวิบากขาว ตรัสเรียกว่า กรรม
ที่ไม่มีโทษ พระอริยสาวก ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษได้แล้ว รวมความว่า ละกรรมที่มีโทษและ
กรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
คำว่า ความไม่หมดจด ในคำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่
หมดจด ได้แก่ พวกปุถุชนปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรม
คำว่า ความหมดจด อธิบายว่า พวกปุถุชนปรารถนาความหมดจด คือ
ปรารถนากามคุณ 5 ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรมและกาม-
คุณ 5 ปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนาทิฏฐิ 62 ปรารถนาความไม่หมดจด

เชิงอรรถ :
1 กรรมดำ มีวิบากดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในอบาย
2 กรรมขาว มีวิบากขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในสวรรค์ (ที.ปา.อ. 3/312/
220)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :372 }