เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง
ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก
เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย
[8] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน
ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความ
ข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่
มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่
แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำ
พาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย
ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง
ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความ
หวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่
กระซิบบ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ
ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่
อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :37 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน
อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์
บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหา
ดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ได้แก่ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือ
มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ
มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว
คือ สุขเวทนา
ความพอใจในภพ 2 อย่าง คือ
1. สุขเวทนา 2. วัตถุที่น่าปรารถนา
ความพอใจในภพ 3 อย่าง คือ
1. ความเป็นหนุ่มสาว 2. ความไม่มีโรค
3. ชีวิต
ความพอใจในภพ 4 อย่าง คือ
1. ลาภ 2. ยศ
3. สรรเสริญ 4. สุข
ความพอใจในภพ 5 อย่าง คือ
1. รูปที่น่าพอใจ 2. เสียงที่น่าพอใจ
3. กลิ่นที่น่าพอใจ 4. รสที่น่าพอใจ
5. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :38 }