เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
วัตรเยี่ยงพระอาทิตย์บ้าง วัตรเยี่ยงพระอินทร์บ้าง วัตรเยี่ยงพระพรหมบ้าง วัตรเยี่ยง
เทวดาบ้าง วัตรคือการไหว้ทิศบ้างแล้วดำรงอยู่ คือ ดำรงมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ
น้อมใจเชื่อ รวมความว่า สมาทานวัตรแล้วดำรงอยู่
คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความ
หมดจดแห่งวัตรนั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจ
ของตน ลัทธิของตน
คำว่า ศึกษา ได้แก่ ศึกษา คือ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ
สมาทานประพฤติ รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละ
คำว่า และศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น อธิบายว่า และศึกษาความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้น
ไปแห่งวัตรนั้น รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจด
แห่งวัตรนั้น
คำว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ในคำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ได้แก่ ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ คือ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงภพ
ติดใจในภพ น้อมใจเชื่อในภพ รวมความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ
คำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ
กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล
อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน
รวมความว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด
สมาทานวัตรแล้ว ดำรงอยู่
ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า
พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :369 }