เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส1
อธิบายมหาวิยูหสูตร
ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะทิฏฐิสูตรใหญ่
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายมหาวิยูหสูตร ดังต่อไปนี้
[130] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น
คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ ได้แก่ ทุกพวกโดยอาการทั้งหมด ทุกพวกไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดา
ทิฏฐิ 62 แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวก
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มี
กิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิ
เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ2 62 แล้ว
อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/902-921/510-514
2 ทิฏฐิ 62 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :362 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า "โลกไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความ
ว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะได้รับการนินทา คือ ได้รับการติเตียน
ได้รับความเสื่อมเกียรติ ได้แก่ ทุกพวกจะถูกนินทา จะถูกติเตียน จะถูกทำให้เสื่อม
เกียรติ รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
คำว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า จะได้ คือ
จะได้รับ สมหวัง ประสบความสรรเสริญ คือ ความชื่นชม เกียรติคุณ ความยกย่อง
ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตนนั้น
รวมความว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธ
เนรมิตจึงทูลถามว่า
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น
[131] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ
เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น 2 อย่าง
บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว
มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ไม่พึงวิวาทกัน
คำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ในคำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อ
ความสงบ ได้แก่ ผลนี้น้อย คือ ผลนี้ต่ำทราม หน่อยเดียว น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย รวมความว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก
คำว่า ไม่พอเพื่อความสงบ อธิบายว่า ไม่พอเพื่อความสงบราคะ เพื่อความ
สงบโทสะ เพื่อความสงบโมหะ ไม่พอเพื่อความสงบ คือเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :363 }