เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ
คำว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า
ติตถะ(ท่า) เจ้าทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจง ทิฏฐิมากมาย รวมความว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
คำว่า เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน อธิบาย
ว่า เพราะพวกเขายินดี ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน รวมความว่า เพราะ
พวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้
ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์
เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน
[127] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า
มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น

ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์
คำว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น
อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า
"โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า "โลก
ไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :357 }