เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

1. สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ(ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า
เพราะสัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ 2
คำว่า ใด ในคำว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน ได้แก่ ในสัจจะใด
คำว่า หมู่สัตว์ เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า รู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดสัจจะใด
ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อการบาดหมาง ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการ
วิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย รวม
ความว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะต่าง ๆ
กันไปเองว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ"
สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะ
ต่าง ๆ กันไปเองว่า "โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูด
อย่างเดียวกัน อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คือ พูดไป
ต่าง ๆ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจง
มากมาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :347 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ 2
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
[120] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ
อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป
สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา
มีหลายอย่างต่าง ๆ กันหรือ
หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง
คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์
จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ อธิบายว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ไร เพราะอะไร
เป็นเหตุ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ พวกสมณพราหมณ์จึงพูด
สัจจะไปต่าง ๆ คือ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง
ชี้แจงมากมาย รวมความว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะ
ไปต่าง ๆ
คำว่า พูดพร่ำกันไป ในคำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป อธิบาย
ว่า เพราะพูดพร่ำเพ้อไป จึงชื่อว่าพูดพร่ำกันไป
อีกนัยหนึ่ง พวกสมณพราหมณ์พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิ
ของตน ๆ ว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" พวกสมณพราหมณ์
พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิของตน ๆ ว่า "โลกไม่เที่ยง... หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
เป็นโมฆะ"
คำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ
อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า อ้างตนว่าเป็น
คนฉลาด พูดพร่ำกันไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :348 }