เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่
ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มีกิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด
ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาทิฏฐิ 62 แล้ว อยู่ คือ
อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่
[116] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น
คำว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน อธิบายว่า
พวกสมณพราหมณ์ไม่ผ่องแผ้ว คือ ไม่ผ่องใส ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หม่นหมอง
เพราะทิฏฐิของตน คือ เพราะความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
รวมความว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ อธิบายว่า เป็นผู้มี
ปัญญาหมดจด คือ มีปัญญาสะอาด มีปัญญาบริสุทธิ์ มีปัญญาผ่องใส มีปัญญา
แจ่มใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :342 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็นหมดจด มีความเห็นสะอาด มีความเห็นบริสุทธิ์
มีความเห็นผ่องใส มีความเห็นแจ่มใส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี
คำว่า ฉลาด ได้แก่ ฉลาด คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา
หมดจดดี ฉลาด
คำว่า มีความรู้ ได้แก่ มีความรู้ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็น
ผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา อธิบายว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครมีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ
ทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญา
ประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญาสูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุด
รวมความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
คำว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น อธิบายว่า
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือกันมา คือ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ติดใจ น้อมใจเชื่อกันมาอย่างนั้น รวมความว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้
เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :343 }