เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[114] (พระพุทธเนรมิตทูลถามอีกว่า)
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้
วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด
ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ
คำว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท อธิบายว่า ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น
อย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง
ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายว่า "ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ หากท่านสามารถ
ก็จงแก้ไขเถิด" รวมความว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด อธิบายว่า กล่าวอย่างนี้
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า คนอื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม
ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ไม่ฉลาด คือ ไม่มีความรู้ ไปตามอวิชชา
ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ รวมความว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็น
คนพาล ไม่ฉลาด
คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
อธิบายว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริง คือ แท้ แน่
เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหน
เป็นเรื่องจริงกันหนอ
คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด
อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด คือ อ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี
คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระ-
พุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :340 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้
วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด
ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด
[115] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย อธิบายว่า ไม่ยอมรับ คือ ไม่เห็นตาม
ไม่คล้อยตาม ไม่ยินดีตามธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของผู้อื่น รวมความว่า
ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
คำว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม อธิบายว่า คนอื่นเป็นพาล
เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญา
ทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
รวมความว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล มีปัญญาทราม อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม
ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ มีปัญญา
เลว คือ มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า
มีปัญญาต่ำต้อย รวมความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล
มีปัญญาทราม
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด
ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ 62 แล้ว อยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :341 }