เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้าง
ตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ อธิบายว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะว่าขาดสูญ
ขยาดต่อภพ ชื่นชอบความปราศจากภพ สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวความสงบ
คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงัดแห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ
หลังจากตายแล้ว อัตตานี้ ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่มีอยู่ โดยเหตุใด ความไม่มี
อะไรเหลือ ก็มีโดยเหตุเท่านั้น
คำว่า อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ อ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี
คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ
[112] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์
ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ
และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น
ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :335 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้
เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ
คำว่า เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณา
แล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า "เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ(ความเห็นว่า
เที่ยง) เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นผู้อาศัยทั้งสัสสตทิฏฐิและ
อุจเฉททิฏฐิ" รวมความว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไป
อาศัยทิฏฐิ
คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น... และรู้จักทิฏฐิเป็น
ที่อาศัย อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ...ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหา
ดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี1
มุนี รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า "เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ เป็นผู้อาศัย
ทั้งสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ"
คำว่า ... ผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
รวมความว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ... และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย
คำว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้นไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ครั้นรู้จักแล้ว คือ ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า หลุดพ้น ได้แก่ หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย
ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า "สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"...คือ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 14/68-71

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :336 }