เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่ อธิบายว่า คนเหล่าใด
เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว และเป็นอสัญญีสัตว์ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีสัญญา
บุคคลนั้นมิใช่ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว มิได้เป็นอสัญญีสัตว์
คนเหล่าใด ได้อรูปสมาบัติ 4 คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ปราศจากสัญญา
บุคคลนั้นมิใช่ผู้ได้อรูปสมาบัติ 4 รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจาก
สัญญาก็มิใช่
คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขได้...บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส
เพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่น
ไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อม
เพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือ ปฏิบัติอย่างนี้
เคลื่อนไหวอย่างนี้ เป็นไปอย่างนี้ เลี้ยงชีวิตอย่างนี้ ดำเนินไปอย่างนี้ ยังชีวิตให้
ดำเนินไปอย่างนี้ รูปก็ย่อมไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้านั่นเอง คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ
ตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ
มานะ มีต้นเหตุมาจากสัญญา คือ มีสัญญาเป็นเหตุเกิด มีสัญญาเป็นกำเนิด มี
สัญญาเป็นแดนเกิด รวมความว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุ
มาจากสัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ
ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ
เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :331 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
[110] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว
พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ
หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด
อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้
คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้น
แก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ได้ทูลขอ ได้ทูลอัญเชิญ
ได้ทูลให้ประกาศธรรมใดแล้ว
คำว่า พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ได้ตรัส
ตอบ คือ ได้ทรงชี้แจงแล้ว ตรัสบอกแล้ว ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว
เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์ได้
ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้
ประกาศธรรมอื่นอีก ได้แก่ ขอทูลถามพระองค์ถึงธรรมที่ยิ่งขึ้นไป
คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ขอเชิญ
พระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์
โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :332 }