เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้เป็นพระโสดาบันย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ1 วิจิกิจฉา2 สีลัพพตปรามาส3
ทิฏฐานุสัย4 วิจิกิจฉานุสัย5 และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิ
เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์6 ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว
กับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ7 อรูปราคะ8 มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย9 ภวราคานุสัย10 อวิชชานุสัย11 เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก

เชิงอรรถ :
1 สักกายทิฏฐิ ดูเชิงอรรถข้อ 12/59
2 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในฐานะ 8 อย่าง คือ (1) ความสงสัยในทุกข์ (2) ความสงสัยในทุกขสมุทัย
(3) ความสงสัยในทุกขนิโรธ (4) ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (5) ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น
(6) ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย (7) ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย (8) ความสงสัย
ในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ดูรายละเอียด ข้อ 174/494
3 สีลัพพตปรามาส คือความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้น
ได้ด้วยศีลพรต (ขุ.ม.อ. 7/98)
4 ทิฏฐานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ 3/11
5 วิจิกิจฉานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ 3/11
6 กามราคสังโยชน์ กิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์หรือผูกกรรมไว้กับผล คือความกำหนัด
ในกาม ความติดใจในกาม (อภิ.วิ.(แปล) 35/969/620)
7 รูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอในรูปภพ (ขุ.ม.อ. 7/100)
8 อรูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอรูปภพ (ขุ.ม.อ. 7/100)
9 มานานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ 3/11
10 ภวราคานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ 3/11
11 อวิชชานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ 3/11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :33 }