เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และความยึดถือมีมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
[107] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
คำว่า เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด อธิบายว่า
จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ คือ
(1) ตา (2) รูป (3) จักขุวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ตาและรูปอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรม
ทั้งหลายเว้นจักขุสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วย
ประการอย่างนี้
โสตวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
คือ (1) หู (2) เสียง (3) โสตวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด หูและเสียงอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นโสตสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ฆานวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ คือ
(1) จมูก (2) กลิ่น (3) ฆานวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด จมูกและกลิ่นอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นฆานสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
คือ (1) ลิ้น (2) รส (3) ชิวหาวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ลิ้นและรสอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นชิวหาสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :325 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
กายวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
คือ (1) กาย (2) โผฏฐัพพะ (3) กายวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด กายและโผฏฐัพพะอยู่ใน
ส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นกายสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้
มโนวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งหลาย ประชุมแห่งธรรม
3 ประการ คือ (1) หทัยวัตถุ (2) ธรรมารมณ์ (3) มโนวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
หทัยวัตถุและธรรมารมณ์ที่มีรูปทั้งหลายอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้น
มโนสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้

ว่าด้วยความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัส
เรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ1
คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ 2 อย่าง คือ (1) ความยึดถือด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ...นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหา... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ2
คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ความยึดถือ
มีต้นเหตุมาจากความปรารถนา คือ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ มีความปรารถนา
เป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11
2 ดูรายละเอียดข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :326 }