เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
[106] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และความยึดถือมีมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง

ว่าด้วยต้นเหตุแห่งผัสสะ
คำว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งผัสสะว่า
ผัสสะมีต้นเหตุมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น
จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
คำว่า และความยึดถือมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งความ
ยึดถือว่า ความยึดถือมีมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน
บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และความยึดถือมีมาจากไหน
คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า เมื่ออะไร
ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้ ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง อธิบายว่า เมื่ออะไรไม่มี คือ ไม่เป็น
ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะ
จึงไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :324 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และความยึดถือมีมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
[107] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
คำว่า เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด อธิบายว่า
จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ คือ
(1) ตา (2) รูป (3) จักขุวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ตาและรูปอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรม
ทั้งหลายเว้นจักขุสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วย
ประการอย่างนี้
โสตวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
คือ (1) หู (2) เสียง (3) โสตวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด หูและเสียงอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นโสตสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ฆานวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ คือ
(1) จมูก (2) กลิ่น (3) ฆานวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด จมูกและกลิ่นอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นฆานสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
คือ (1) ลิ้น (2) รส (3) ชิวหาวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ลิ้นและรสอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นชิวหาสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :325 }