เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา" นี้ชื่อว่าอธิปัญญา-
สิกขา
คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า บุคคล
ผู้มีความสงสัย คือ เคลือบแคลง ลังเล มีความเข้าใจ 2 ทิศ 2 ทาง ไม่แน่ใจ
พึงศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อบรรลุถึงญาณ เพื่อถูกต้อง
ญาณ เพื่อทำญาณให้แจ้ง คือ
สิกขา 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควร
เจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือพึง
ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า บุคคล
ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทรงทราบ
คำว่า ทรงทราบแล้ว ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้ว
ตรัสไว้ ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้ว ตรัสสอน ตรัสไว้ คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศไว้แล้วว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี... เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
จึงมี... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :319 }