เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
จองจำคือโซ่ตรวน... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือหวาย... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือ
เถาวัลย์ ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือคุก ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ
การล้อมรั้ว... ถูกจองจำไว้ภายในบ้าน นิคม เมือง หรือรัฐ... หรือถูกจองจำไว้ภายใน
ชนบท ก็พูดเท็จทั้งที่รู้ เพื่อให้พ้นการจองจำนั้น มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่ง
ที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งรูปที่น่าพอใจ พูดเท็จทั้งที่รู้
เพราะเหตุแห่งเสียง ... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะที่พอใจ... เพราะเหตุแห่งจีวร...
เพราะเหุตแห่งบิณฑบาต ... เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุ
แห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นอย่างนี้

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ด้วยคิดว่า "เราจัก
พ้นจากโรคตา หรือไม่พ้นจากโรคตาหนอ เราจักพ้นจากโรคหู... จากโรคจมูก... จาก
โรคลิ้น... จากโรคกาย... จากโรคเกี่ยวกับศีรษะ... จากโรคเกี่ยวกับหู... จากโรคเกี่ยว
กับปาก... จากโรคเกี่ยวกับฟัน หรือไม่พ้นจากโรคเกี่ยวกับฟันหนอ" ความสงสัยย่อม
เกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาด้วยคิดว่า "เราจักได้
รูปที่น่าพอใจ หรือไม่ได้รูปที่น่าพอใจหนอ เราจักได้เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...
ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร... บิณฑบาต...
เสนาสนะ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารหนอ" ความ
สงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความโกรธ
ความเป็นคนพูดเท็จและความสงสัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :316 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี
อธิบายว่า เมื่อความดีใจและความเสียใจมีอยู่ คือเมื่อความสุขและความทุกข์ โสมนัส
และโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย
มีอยู่ คือ ปรากฏอยู่ อันตนเข้าไปได้อยู่ ธรรมเหล่านี้ก็มีได้ รวมความว่า ธรรมแม้
เหล่านี้... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี
คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า ญาณ1
ชื่อว่า ทางแห่งญาณ อารมณ์แห่งญาณ ชื่อว่าทางแห่งญาณ ธรรมที่เกิดมีพร้อมกับญาณ

เชิงอรรถ :
1 ญาณ ในที่นี้ หมายถึง ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ ความหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้ง
แต่ต้นจนถึงที่สุด
1. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดรู้นามและรูป
2. ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
3. สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ
5. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายเห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปหมด
6. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป
ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนา
ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออก
11. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย
12. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลม ได้แก่ การหยั่งรู้อริยสัจจ์
13. โคตรภูญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
14. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
15. ผลญาณ ญาณในอริยผล ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้น ๆ
16. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่
เหลืออยู่ และนิพพาน (ขุ.ป. 31/1-65/5-78, วิสุทฺธิ. 2/662-804/250-350)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :317 }