เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป
คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูป
ทั้งหลายแล้ว ได้แก่ มหาภูตรูป1 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป2 4
ความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเจริญ ความเกิด ความเกิดขึ้น ความบังเกิด ความบังเกิดขึ้น
ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย
ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกไป ความทำลายไป ความเป็น
ธรรมชาติไม่เที่ยง ความสูญหายไปแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย
คำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว
คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
ซึ่งความเจริญและความเสื่อมในรูปทั้งหลาย รวมความว่า มองเห็นความเสื่อมและ
ความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว

เชิงอรรถ :
1 มหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 10/52
2 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 หรือทับศัพท์บาลีว่า อุปาทายรูป มี 24 คือ
ก. ปสาทรูป 5 รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ (1) ตา (2) หู (3) จมูก (4) ลิ้น (5) กาย
ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป 5 รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ (6) รูป (7) เสียง (8) กลิ่น
(9) รส (0) โผฏฐัพพะ (ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูตรูป 3 คือ ปฐวี เตโช วาโย)
ค. ภาวรูป 2 รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ (10) อิตถิตตะ อิตถินทรีย์ ความเป็นหญิง (11) ปุริสัตตะ ปุริสินทรีย์
ความเป็นชาย
ง. หทัยรูป รูปคือหทัย (12) หทัยวัตถุ ที่ตั้งแห่งใจ หัวใจ
จ. ชีวิตรูป 1 รูปที่เป็นชีวิต (13) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต
ฉ. อาหารรูป 1 รูปคืออาหาร (14) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
ช. ปริจเฉทรูป 1 รูปที่กำหนดเทศะ (15) อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง
ญ. วิญญัติรูป 2 รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย (16) กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย
ด้วยกาย (17) วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา
ฎ. วิการรูป 5 รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ (18) (รูปัสส) ลหุตา ความเบา (19) (รูปัสส)
มุทุตา ความอ่อนสลวย (20) (รูปัสส) กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน ใช้การได้ (และวิญญัติรูป 2
แต่ท่านไม่นับเพราะซ้ำกับข้อ ญ)
ฏ. ลักขณรูป 4 รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด (21) (รูปัสส) อุปจย ความก่อตัวหรือเติบโตขึ้น
(22) (รูปัสส) สันตติ ความสืบต่อ (23) (รูปัสส) ชรตา ความทรุดโทรม (24) (รูปัสส) อนิจจตา
ความปรวนแปรแตกสลาย (อภิ.สํ. (แปล) 34/584-984/169-255)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :312 }