เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความสำเร็จตามความหวัง ตรัสเรียกว่า ความสำเร็จหวัง
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น มีความพอใจนี้เป็น
ต้นเหตุ อธิบายว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ มีความ
พอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า
ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบาย
ว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ต้านทาน
เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น
มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
[101] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และการตัดสินใจมีมาจากไหน
อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ
และความสงสัยมีมาจากอะไร
และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว
ธรรมเหล่านั้นมีมาจากอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :309 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยฉันทะเป็นต้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งฉันทะว่า
ฉันทะมีต้นเหตุมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิด
ขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
คำว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูล
สอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งการตัดสิน
ใจว่า การตัดสินใจมีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน
บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความ
สงสัย อธิบายว่า ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด
ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้
มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
ความลังเล ตรัสเรียกว่า ความสงสัย รวมความว่า ความโกรธ ความเป็นคน
พูดเท็จ และความสงสัย
คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว
อธิบายว่า ธรรมเหล่าใด ดำเนินไปพร้อมกัน คือ เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบกัน เกิดคราวเดียวกัน ดับคราวเดียวกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์
อย่างเดียวกันกับความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ตรัส
เรียกว่า ธรรมเหล่าใด
อีกนัยหนึ่ง กิเลสเหล่าใดมีชาติเป็นอย่างอื่น ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลส
เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมเหล่าใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :310 }