เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความพอใจในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภค
รูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการบริโภค
ความพอใจในการสะสม เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการ
สะสมทรัพย์ ด้วยหวังว่า "จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตราย" นี้ชื่อว่าความพอใจ
ในการสะสม
ความพอใจในการสละ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละ
ทรัพย์ให้แก่พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พลเดินเท้า ด้วยคิดว่า "คนเหล่านี้
จักรักษา ปกป้อง ห้อมล้อมเรา" นี้ชื่อว่าความพอใจในการสละ

ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก 2 จำพวก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก 2 จำพวก คือ (1) สัตว์ (2) สังขาร ...
สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก... สังขารเหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก1
คำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า สิ่งเป็นที่รัก
มีความพอใจเป็นต้นเหตุ คือ มีความพอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด
มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ
ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ
กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ



เชิงอรรถ :
1ดูรายละเอียดข้อ 98/301


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :307 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก...ในอายตนโลก1 รวมความว่า และชนเหล่า
ใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ

ว่าด้วยความหวัง
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้นมีความพอใจนี้เป็น
ต้นเหตุ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความหวัง คือ ความกำหนัด ความกำหนัด
นัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ2
คำว่า ความสำเร็จหวัง อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูปก็ได้รูป
เป็นผู้สมหวังในรูป เมื่อแสวงหาเสียง...กลิ่น...รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ
... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ...
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... อารัญญิกังค-
ธุดงค์ ... ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ... ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ... เตจีวริกังคธุดงค์ ... สปทาน-
จาริกังคธุดงค์ ... ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ... เนสัชชิกังคธุดงค์ ... ยถาสันถติกังคธุดงค์
... ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ
... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เมื่อแสวงหา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นผู้
สมหวังในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมจริงดังที่พระกาฬุทายีกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า)
ชาวนาไถนาก็ด้วยหวังผล หว่านพืชก็ด้วยหวังผล
พวกพ่อค้าเที่ยวหาทรัพย์เดินเรือไปสู่สมุทรก็ด้วยหวังผล
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยความหวังอันใด
ขอความหวังอันนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด3

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/12
2 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11
3 ขุ.เถร.(แปล) 26/530/432

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :308 }