เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
สิ่งเป็นที่รักว่า สิ่งเป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน
บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลก
มีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า และชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ
ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ
กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า
พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึง
มูล...เหตุเกิดแห่งความหวังและความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวังมี
อะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน
ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบายว่า
ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ เป็นเกาะ เป็นที่
ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวัง
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนใน
ภพหน้า ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :305 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
[100] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น
มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
คำว่า ความพอใจ ในคำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อ
ใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบ
คือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ความพอใจ 5 อย่าง คือ
1. ความพอใจในการแสวงหา 2. ความพอใจในการได้
3. ความพอใจในการบริโภค 4. ความพอใจในการสะสม
5. ความพอใจในการสละ
ความพอใจในการแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ก็แสวงหารูป...
เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการแสวงหา
ความพอใจในการได้ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้รูป...
เสียง... กลิ่น... รส...โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :306 }