เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
1. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก 2. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วยคิดว่า
"เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้" บุคคล
ย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า "ทำอย่างไร ชนเหล่านี้
พึงเป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น 2 พวก เป็น 2 ฝัก 2 ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย" บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น
และวาจาส่อเสียด
คำว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น
อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรง
ประกาศมูล เหตุ ต้นเหตุ การเกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย
เหตุเกิดแห่งกิเลส 8 จำพวกเหล่านี้ว่า กิเลส 8 จำพวกเหล่านี้ คือ

1. การทะเลาะ 2. การวิวาท
3. ความคร่ำครวญ 4. ความเศร้าโศก
5. ความตระหนี่ 6. ความถือตัว
7. ความดูหมิ่น 8. วาจาส่อเสียด

มีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น
จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน
คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น อธิบายว่า ขอเชิญพระองค์
โปรดตรัส คือ ขอโปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :300 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ประกาศ รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก
เหตุนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากไหน
กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น
[98] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก
การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่
มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว
ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น

ว่าด้วยการทะเลาะเป็นต้น มาจากสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ในคำว่า การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่... มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก 2 จำพวก
คือ (1) สัตว์ (2) สังขาร
สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปราถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ
หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร
อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ สังขารเหล่านี้
ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมก่อการทะเลาะกัน
บ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :301 }