เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
1. อาวาสมัจฉริยะ 2. กุลมัจฉริยะ
3. ลาภมัจฉริยะ 4. วัณณมัจฉริยะ
5. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน (ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี
ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่
คำว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด
อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เกิดความถือตัว เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง
เพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง เพราะเป็นผู้มีรูปงามบ้าง เพราะมีทรัพย์บ้าง
เพราะการศึกษาบ้าง เพราะหน้าที่การงานบ้าง เพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง
เพราะวิทยฐานะบ้าง เพราะความคงแก่เรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
คำว่า ความดูหมิ่น ได้แก่ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง
เพราะโคตรบ้าง... เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง

ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไปบอก
คนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้แตกแยก หรือ
สนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการแบ่งพวกแบ่ง
เหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่งพวกแบ่งเหล่า
นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :299 }