เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
สัญญา ...ในสังขาร ... ในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง"1 คำว่า
ผู้ข้อง เป็นชื่อของความเกี่ยวข้อง รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ
คำว่า ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ อธิบายว่า ถูกกิเลสเป็นอันมากปิดบังไว้
คือ ถูกราคะปิดบังไว้ ถูกโทสะปิดบังไว้ ถูกโมหะปิดบังไว้ ถูกโกธะปิดบังไว้ ถูก
อุปนาหะปิดบังไว้ ถูกมักขะปิดบังไว้ ถูกปฬาสะปิดบังไว้ ถูกอิสสาปิดบังไว้ ถูก
มัจฉริยะปิดบังไว้ ถูกมายาปิดบังไว้ ถูกสาเถยยะปิดบังไว้ ถูกถัมภะปิดบังไว้ ถูก
สารัมภะปิดบังไว้ ถูกมานะปิดบังไว้ ถูกอติมานะปิดบังไว้ ถูกมทะปิดบังไว้ ถูก
ปมาทะปิดบังไว้ ได้แก่ ถูกกิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ...ความกระวนกระวาย
ทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท ปิดบัง ปกปิด ปิดล้อม หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม
บดบังไว้ รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
คำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ในคำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่
ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า นรชนเมื่อดำรงตนอยู่ คือ ผู้กำหนัดก็ดำรงตนอยู่
ตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดำรงตนอยู่ตาม
อำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดำรงตนอยู่ตาม
อำนาจทิฏฐิ2 ผู้ฟุ้งซ่านก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ผู้ลังเล

เชิงอรรถ :
1 สํ.ข. 17/161/153
2 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐิ 62 แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ปุพพันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมี 18 คือ
(1) สัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงมี 4 อย่าง (2) เอกัจจสัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง
เป็นบางอย่างมี 4 อย่าง (3) อันตานันติกวาทะ เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุดมี 4 อย่าง (4) อมรา-
วิกเขปวาทะ ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนมี 4 อย่าง (5) อธิจจสมุปปันนวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลก
เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัยมี 2 อย่าง
2. อปรันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคตมี 44 คือ
(1) สัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญามี 16 อย่าง (2) อสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลัง
จากตายแล้วไม่มีสัญญามี 8 อย่าง (3) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่มี 8 อย่าง (4) อุจเฉทวาทะ เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญมี 7 อย่าง
(5) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบันมี 5 อย่าง (ที.สี.(แปล)
9/28-104/11-39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :29 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดำรงตน
อยู่ตามอำนาจอนุสัย(กิเลสที่นอนเนื่อง) รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่
ย่อมเป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุ
เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เสียงที่รู้ได้ทางหู ... มีอยู่ ...
กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... มีอยู่ ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ... มีอยู่ ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ...
มีอยู่ ... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่"1 รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ(ความรู้แจ้ง
อารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวย
ความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ
ที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสัญญา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่
ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่
ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้"2 รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อม
เป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) วิญญาณ
ก็ตั้งอยู่ งอกงามในกวฬิงการาหารนั้นได้ วิญญาณ ตั้งอยู่ งอกงามได้ในที่ใด การ
ก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญ
แห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มี
ได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น
ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้นมีความเศร้าโศก มีความ
หม่นหมอง มีความคับแค้นใจ" รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็น
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. 18/114/86
2 สํ.ข. 17/53/44

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :30 }