เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัด 4 อย่าง
คำว่า กิเลศเครื่องร้อยรัด ในคำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
อธิบายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด 4 อย่าง คือ
1. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
2. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท
3. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
4. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง
ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
พยาบาท
ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส
คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ไม่มีอยู่
ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดบุคคลนั้นละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่าง ๆ
คำว่า บุคคลนั้น... ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :287 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา
เพราะกระจายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่า
วิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา
เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า
ตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลนั้น
ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งตัณหา
ที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ รวมความว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า
เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว
[93] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลนั้นไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น

ว่าด้วยบุตรเป็นต้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน เป็นคำ
ปฏิเสธ
คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร 4 จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :288 }