เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
กิเลสหนาเหล่านั้นไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น
คือ กิเลสหนาเหล่านั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า กิเลสหนาย่อม
ไม่มีแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก
กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
[91] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลใดไม่มีที่อาศัย
ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ
บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ว่าด้วยที่อาศัย
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ที่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย 2 อย่าง คือ (1) ความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา (2) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความอาศัย
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลใด ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งที่อาศัย
คือ ที่อาศัยนั้น บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย
คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย อธิบายว่า รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า "สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ... รู้แล้ว คือ
ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา"
คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย 2 อย่าง คือ (1) ความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา (2) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... ไม่อาศัยหู ... ไม่อาศัยจมูก ... ไม่อาศัยลิ้น ... ไม่
อาศัยกาย ... ไม่อาศัยใจ ... คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว
ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
รวมความว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ว่าด้วยตัณหา
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ได้แก่ รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ในภพ ได้แก่ ในภวทิฏฐิ
คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในวิภวทิฏฐิ
คำว่า ในภพ ได้แก่ ในสัสสตทิฏฐิ
คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในอุจเฉททิฏฐิ
คำว่า ในภพ อธิบายว่า ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป
ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดของอัตภาพต่อไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :285 }