เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้
ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว
เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรสแล้ว
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะ
ตัณหา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล
และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
[90] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก
กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ 6
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ในคำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6 เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ยินดีรูป
ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน
หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งเห็นรูปที่ไม่ชอบใจทางตาแล้วก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่
พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ได้ยินเสียง
ทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่ยินดีอารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :280 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
กำหนัดขึ้น กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งรู้
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท
กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
เห็นรูปทางตาแล้ว กายของเขาก็ตั้งมั่นในรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น
ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส
ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็มีกายตั้งมั่นใน
ธรรมารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวน
ให้ขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองใน
รูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา ได้ยินเสียงทางหู ... ดมกลิ่น
ทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
ก็ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้
ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในธรรมารมณ์ที่ชวนให้โกรธ
ไม่เศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้
มัวเมา เมื่อเห็น ก็เป็นเพียงเห็น เมื่อได้ยิน ก็เป็นเพียงได้ยิน เมื่อรับรู้ กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ก็เป็นเพียงรับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็เป็นเพียงรู้แจ้ง ไม่ติดในรูป
ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น ไม่ติดในรส ไม่ติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ติด
ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้
และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
พระอรหันต์ก็มีตา เห็นรูปทางตา แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ
พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีหู ได้ยินเสียงทางหู แต่พระอรหันต์
ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีจมูก
ได้กลิ่นทางจมูก แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิต
หลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีลิ้น ลิ้มรสทางลิ้น แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด
เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีกายถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดี
แล้ว พระอรหันต์ก็มีใจ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด
เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :281 }