เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
เดือดดาล ความเดือดดาลนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
เดือดดาล
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รส
จากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน
รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์บางพวก ยินดีในรส
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวง
หารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารส
ไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้
รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็
แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม
ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเปรี้ยว
แล้วก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหา
รสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน
ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใด ๆ แล้วก็ไม่ยินดี
ด้วยรสนั้น ๆ ยังแสวงหารสอื่น ๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุ
นั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อ
ตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้
ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น
ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิต
ของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้
คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน
อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :279 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้
ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว
เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรสแล้ว
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะ
ตัณหา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล
และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
[90] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก
กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ 6
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ในคำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6 เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ยินดีรูป
ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน
หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งเห็นรูปที่ไม่ชอบใจทางตาแล้วก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่
พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ได้ยินเสียง
ทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่ยินดีอารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :280 }