เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า "เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" เธอมีความคิดต่อไปว่า "ท่านผู้มีอายุนี้
เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... ผู้ทรงจำพระอภิธรรม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" เธอมุ่งหวังลาภ จึงเล่าเรียน ... พระอภิธรรม
เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการ
เกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า "เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้จึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" เธอมีความคิดต่อไปว่า "ท่าน
ผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตาม
ลำดับตรอกเป็นวัตร ... เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" เธอมุ่งหวังลาภ จึงเป็น
ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะ
ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ
โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มิได้มุ่งหวังลาภ เล่าเรียนพระสูตร เล่าเรียนพระวินัย
เล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ในการฝึกตน เพื่อประโยชน์แก่ความสงบของตน
เพื่อประโยชน์ในการทำตนให้ดับเย็น (ปรินิพพาน) มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่
เพราะลาภเป็นปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดย
เฉพาะ บุคคลชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไม่มุ่งหวังลาภ เพียงอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้ต้องการกุศลนี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็น
ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :277 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
เป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น
วัตร ... เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่เพราะลาภเป็น
ปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคล
ชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะ
อยากได้ลาภ

ว่าด้วยโกรธเพราะการไม่ได้
คำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า
ภิกษุโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ คือ แค้น เคือง ทำความโกรธ
ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า "เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ
ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก" บุคคลชื่อว่าโกรธเพราะไม่ได้ลาภ
เป็นอย่างนี้
ภิกษุไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่โกรธ คือ ไม่แค้น ไม่เคือง ไม่ทำความโกรธ
ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า "เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ
ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก" บุคคลชื่อว่าไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ
เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ
คำว่า เดือดดาล ในคำว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง แค้นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด
ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ
ที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความ
คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความ
ดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :278 }