เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ในคำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ต้องคลายกำหนัด
อธิบายว่า ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริงด้วยตนเองแล้ว บุคคลไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่า
จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือ ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริง
ด้วยตนเองแล้วว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง" บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่าจะ
เป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็น
จริงด้วยตนเองแล้วว่า "สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ... เพราะชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมี ... เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้
แจ้ง ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษและการสลัดออก
แห่งผัสสายตนะ 6 ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งอุปาทาน-
ขันธ์ 5 ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งมหาภูตรูป 4 ...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา"
บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ
พรหมก็ตาม
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า สัทธินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ...
ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด"
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ข้าพระองค์ไม่
จำต้องดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ...
สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัส
ด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :274 }