เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ย่อมไม่ไหล... ทางหู ... คันธตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไม่ไหล...
ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางกาย ... ธัมมตัณหาย่อมไม่ไหล
ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไป ทางมโนวิญญาณของชนเหล่านั้น รวมความว่า
ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี

ว่าด้วยความดูหมิ่น
คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น อธิบายว่า
ความดูหมิ่น เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ... เพราะ
เรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความ
ลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ต้องการ
เชิดชูตนเป็นดุจธงเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความดูหมิ่น ความดูหมิ่นนั้น ผู้ใด
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ประกอบ คือ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย
ไม่พัวพันในความดูหมิ่น รวมความว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
คำว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ อธิบายว่า ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะ
ประกอบด้วยกายกรรมอันละเอียดอ่อน ... วจีกรรมอันละเอียดอ่อน ... มโนกรรม
อันละเอียดอ่อน ... สติปัฏฐานอันละเอียดอ่อน ... สัมมัปปธานอันละเอียดอ่อน ...
อิทธิบาทอันละเอียดอ่อน ... อินทรีย์อันละเอียดอ่อน ... พละอันละเอียดอ่อน ...
โพชฌงค์อันละเอียดอ่อน ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8
อันละเอียดอ่อน

ว่าด้วยผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก คือ
1. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
2. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
3. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :272 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)
ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ
เพราะปริยัติ
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในประโยชน์ของตน ในความหมาย
ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของเขาย่อมแจ่มแจ้งเพราะ
การไต่สวนนั้น บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4 สามัญญผล 4
ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ เมื่อรู้เหตุ เหตุก็แจ่มแจ้ง
เมื่อรู้ผล ผลก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ1 นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติ
ทั้ง 3 เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไป
พร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้
บุคคลนั้นตรัสเรียกว่าผู้มีปฏิภาณ
ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้
รวมความว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ

เชิงอรรถ :
1 รู้นิรุตติ คือรู้ภาษาแจ่มแจ้ง บางทีท่านเรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งใน
ภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่าง ๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ (องฺ.จตุกฺก.
21/172/183-184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :273 }