เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
วาจาส่อเสียดนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าไม่ประกอบ คือ
ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย ไม่พัวพันในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด รวมความว่า และ
ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
[88] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี
ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ
ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด

ว่าด้วยกามคุณ 5
คำว่า ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี อธิบายว่า กามคุณ 5 ตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
เพราะเหตุไร กามคุณ 5 จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี เพราะโดยส่วนมาก
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
กามคุณ 5 เพราะเหตุนั้น กามคุณ 5 จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
สิ่งที่น่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดยังละไม่ได้ รูปตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล
ซ่านไป เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหาย่อมไหล... ทางหู ... คันธตัณหา
ย่อมไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไหล... ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหล...
ทางกาย ... ธัมมตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล ซ่านไป เป็นไป ทางมโนวิญญาณของ
ชนเหล่านั้น สิ่งน่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รูปตัณหา
ย่อมไม่ไหล ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :271 }