เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ทราม ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น เปลี่ยน
ความคิดเห็นง่าย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ พระอริยบุคคลทุกประเภท
รวมทั้งกัลยาณปุถุชน เป็นบุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่
น่ารังเกียจ

ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า
คำว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
วาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกคนข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไปบอกคนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้
แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ
แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง
พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
1. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก 2. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วย
คิดว่า "เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจ
ของผู้นี้" บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์จะทำให้เขาแตกกัน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า "ทำอย่างไร ชนเหล่านี้พึงเป็น
คนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น 2 พวก เป็น 2 ฝัก 2 ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย" บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์จะให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :270 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
วาจาส่อเสียดนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าไม่ประกอบ คือ
ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย ไม่พัวพันในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด รวมความว่า และ
ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
[88] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี
ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ
ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด

ว่าด้วยกามคุณ 5
คำว่า ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี อธิบายว่า กามคุณ 5 ตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
เพราะเหตุไร กามคุณ 5 จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี เพราะโดยส่วนมาก
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
กามคุณ 5 เพราะเหตุนั้น กามคุณ 5 จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
สิ่งที่น่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดยังละไม่ได้ รูปตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล
ซ่านไป เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหาย่อมไหล... ทางหู ... คันธตัณหา
ย่อมไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไหล... ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหล...
ทางกาย ... ธัมมตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล ซ่านไป เป็นไป ทางมโนวิญญาณของ
ชนเหล่านั้น สิ่งน่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รูปตัณหา
ย่อมไม่ไหล ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :271 }