เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ
คำว่า ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ได้แก่ บุคคลผู้น่ารังเกียจก็มี บุคคลผู้ไม่น่า
รังเกียจก็มี
บุคคลผู้น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล ถือความชั่วเป็นเรื่องธรรมดา มีความ
ประพฤติไม่สะอาดที่นึกถึงได้ด้วยความน่ารังเกียจ มีการงานที่ปกปิด มิได้เป็นสมณะ
ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์
เป็นคนเน่าภายใน มีใจชุ่มโชกด้วยความกำหนัด เป็นดุจขยะ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคล
ผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกใครว่าหน่อยก็
ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มุ่งร้าย ทำความโกรธ ความแค้นเคือง และความ
ไม่ยินดีให้ปรากฏเสมอ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่
โอ้อวด หลอกลวง กระด้าง ถือตัว มีความอยากที่เลวทราม มีความเห็นผิด
ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ถือรั้น เปลี่ยนความคิดเห็นยาก นี้ตรัสเรียกว่า
บุคคลผู้น่ารังเกียจ
บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร มองเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นเคือง แม้ถูกใครว่า
กล่าวมากมาย ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มุ่งร้าย ไม่ทำความโกรธ
ความแค้นเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่หลอกลวง ไม่แข็งกระด้าง ไม่ถือตัว ไม่มีความอยากที่เลว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :269 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ทราม ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น เปลี่ยน
ความคิดเห็นง่าย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ พระอริยบุคคลทุกประเภท
รวมทั้งกัลยาณปุถุชน เป็นบุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่
น่ารังเกียจ

ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า
คำว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
วาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกคนข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไปบอกคนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้
แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ
แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง
พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
1. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก 2. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วย
คิดว่า "เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจ
ของผู้นี้" บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์จะทำให้เขาแตกกัน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า "ทำอย่างไร ชนเหล่านี้พึงเป็น
คนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น 2 พวก เป็น 2 ฝัก 2 ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย" บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์จะให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :270 }