เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ
คำว่า ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ได้แก่ บุคคลผู้น่ารังเกียจก็มี บุคคลผู้ไม่น่า
รังเกียจก็มี
บุคคลผู้น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล ถือความชั่วเป็นเรื่องธรรมดา มีความ
ประพฤติไม่สะอาดที่นึกถึงได้ด้วยความน่ารังเกียจ มีการงานที่ปกปิด มิได้เป็นสมณะ
ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์
เป็นคนเน่าภายใน มีใจชุ่มโชกด้วยความกำหนัด เป็นดุจขยะ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคล
ผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกใครว่าหน่อยก็
ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มุ่งร้าย ทำความโกรธ ความแค้นเคือง และความ
ไม่ยินดีให้ปรากฏเสมอ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่
โอ้อวด หลอกลวง กระด้าง ถือตัว มีความอยากที่เลวทราม มีความเห็นผิด
ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ถือรั้น เปลี่ยนความคิดเห็นยาก นี้ตรัสเรียกว่า
บุคคลผู้น่ารังเกียจ
บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร มองเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นเคือง แม้ถูกใครว่า
กล่าวมากมาย ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มุ่งร้าย ไม่ทำความโกรธ
ความแค้นเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่หลอกลวง ไม่แข็งกระด้าง ไม่ถือตัว ไม่มีความอยากที่เลว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :269 }