เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผัสสะ
คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า ผัสสะ ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สุขเวทนียสัมผัส ทุกขเวทนียสัมผัส
อทุกขมสุขเวทนียสัมผัส ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต
ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ
อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะ
ที่เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูก
ต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ
คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า บุคคลเห็นจักขุสัมผัสว่า
ว่างจากตน จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความ
สืบต่อ หรือจากธรรมที่ไม่แปรผัน เห็นโสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ...
กายสัมผัส ... มโนสัมผัส ... อธิวจนสัมผัส ... ปฏิฆสัมผัส ... สุขเวทนียผัสสะ ...
ทุกขเวทนียผัสสะ ... อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ ... ผัสสะที่เป็นกุศล ... ผัสสะที่เป็นอกุศล
... ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต ... ผัสสะที่เป็นกามาวจร ... ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ... ผัสสะ
ที่เป็นอรูปาวจร ... ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ... เห็นผัสสะที่เป็นโลกุตตระว่า ว่างจากตน
จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความสืบต่อ หรือจาก
ธรรมที่ไม่แปรผัน
อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอดีตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอนาคตและ
ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นอนาคตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่
เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นปัจจุบันว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่เป็น
อนาคต
อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ ปฏิสังยุต
ด้วยสุญญตธรรมว่า ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน
ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ด้วยประการอย่างนี้ รวม
ความว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :260 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า ทิฏฐิ 62 บุคคลนั้น
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นย่อมไม่ไป ไม่ออก ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วย
ทิฏฐิ บุคคลนั้นจึงไม่กลับถือ ไม่หวนกลับมาสู่ทิฏฐินั้นว่าเป็นสาระอีก รวมความว่า
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต
ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
[87] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

ว่าด้วยผู้หลีกเร้น
คำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง
อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละราคะได้แล้ว ... เพราะละโทสะได้แล้ว ...
เพราะละโมหะได้แล้ว ... เพราะละโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ...
มัจฉริยะ ... ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละอกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้"1 รวมความว่า เป็นผู้หลีกเร้น

เชิงอรรถ :
1 องฺ.จตุกฺก. 21/38/46

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :261 }